News
การนิเทศ ติดตามการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านสารสนเทศ (DLIT)
ร่วมเป็นคณะกรรมการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านสารสนเทศ (DLIT) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจรครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาหลัก นำโดย นายอุทัย ไชยกลาง ประธานกรรมการและคณะกรรมการจากสพฐ. เมื่อวันที่ 26-30 มิถุนายน 2560 ณ Cluster 15 (จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน)
|
อบรมแนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสารสนเทศ DLIT/DLTV
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
การพัฒนาทักษะสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ปีงบประมาณ 2559
![]() 1. การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการนิเทศการศึกษา หลักสูตรทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการนิเทศ ระดับพื้นฐาน รุ่นที่ 1 (วันที่ 30 พ.ค. - 3 มิ.ย. 2559 ) รายชื่อผู้เข้ารับการอบรม 2. การพัฒนาระบบ Cloud Computing เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศ รุ่นที่ 1 (วันที่ 27 - 29 มิ.ย. 2559 ) ประกาศ/แจ้งรายชื่อ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ประชุมคณะนิเทศการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนดีประจำตำบล ระดับประเทศ
![]() ![]() ![]() |
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนอด้วยรูปแบบ infographic
การนิเทศ ติดตามประเมินความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2559
การนิเทศ ติดตามนโยบายการปรับเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
![]() การปรับเวลาเรียน ให้เรียนสาระการเรียนรู้หลักเพียงแค่ 14 นาฬิกา ไม่ได้มีความประสงค์ให้ยุติการเรียนการสอน แล้วนักเรียนกลับบ้านแต่เป็นเพียงการสอนวิชาหลัก เช่น ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา ในช่วงเช้าจนถึง 14 นาฬิกา และหลังจากนั้นจะเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้แก่ การเรียนกลุ่มสาระ ที่เหลือ คือ สุขศึกษาและพลศึกษา การงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี และวิชาศิลปะและนาฎศิลป์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการและกิจกรรมกลุ่ม อันจะทำให้เด็กลดความเคร่งเครียด จากการเรียนเนื้อหามาเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน รวมทั้งเสริมสร้างทักษะทุกด้าน คือด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ความคิดในการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ มาจากข้อเรียกร้องของเด็ก ผู้ปกครองและสังคม ว่าเด็กเรียนเนื้อหาวิชาการมากจนเกินไป เรียนหนักไม่มีการพักผ่อน มีการบ้านมาก ต้องทำการบ้านหนัก เป็นภาระต่อพ่อแม่ ซึ่งเกิดความห่วงใย และแม้จะเรียนเนื้อหามาก แต่ผลการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของเด็กไทย เมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติ ก็ไม่ได้ดีขึ้น การกำหนดหลักสูตรให้นักเรียนชั้นประถม เรียนมากกว่า 1000 ชั่วโมงต่อปี และมัธยมศึกษามากกว่า 1200 ชั่วโมงต่อปี อาจไม่ใช่เครื่องชี้วัดคุณภาพการศึกษา เพราะเด็กประถมในต่างประเทศเรียนประมาณ 720 – 800 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้นรวมทั้งการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศกลุ่มอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ก็เรียนวิชาการเพียงช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ การเล่นกีฬา ดนตรี และศิลปะ เป็นต้น ประเทศไทย ได้นำแนวคิดนี้มาเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยมีตัวอย่างของโรงเรียนในประเทศไทยเองหลายโรง เช่น โรงเรียนสาธิต โรงเรียนเอกชน โรงเรียนนานาชาติ รวมทั้งโรงเรียนของรัฐบางโรงที่ดำเนินการแล้วได้ผลน่าพึงพอใจ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ปรับลดชั่วโมงเรียนและยืดหยุ่นหลักสูตรลงเหลือเพียง 840 ชั่วโมงต่อปีและดำเนินโครงการปรับลดเวลาเรียนเป็นการนำร่องในโรงเรียนของ สพฐ. ประมาณ 10% ของโรงเรียนทั้งหมด รวมประมาณ 3000 โรงเรียน โดยจะดำเนินการในภาคเรียนที่สองของปีการศึกษา 2558 คือเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป วิธีดำเนินการ คือ มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งมาจากผู้บริหาร ครู และนักวิชาการ กำหนดรูปแบบและแนวปฏิบัติ เพื่อนำไปใช้ในโรงเรียนที่สมัครใจ ร่วมกิจกรรม โดยมอบให้เขตพื้นที่การศึกษา สำรวจโรงเรียนที่มีความพร้อมและมีความประสงค์จะจัดการเรียนการสอนตามแนวทางนี้ โดยรูปแบบที่นำเสนอจะระบุถึงแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดตารางสอนที่เหมาะสม ซึ่งจะมีความหลากหลายและแตกต่างกันออกไป 5-6 แบบ แล้วแต่ประเภทของโรงเรียน กิจกรรมในช่วงเช้า นักเรียนมาเรียนในเวลาเดิม เน้นการสอนวิชาหลักในห้องเรียนจนกระทั่งถึงประมาณ 14 นาฬิกา ก็จะปรับกิจกรรมคือ 1. เปลี่ยนไปเป็นการเรียนสาระการเรียนรู้เสริมอีก 3 สาระ ซึ่งนักเรียนจะได้ออกมานอกห้องเรียนปกติ มาเรียนรู้ในสนามกีฬา ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี ห้องศิลปะ หรือในมุมอื่นที่เหมาะสม โดยเนื้อหาดังกล่าว การประเมินผลก็เป็นการประเมินจากผลงานหรือกิจกรรมกลุ่มอยู่แล้ว 2. บางโรงเรียนจะจัดให้มีกิจกรรมชมรม เช่นชมรมดนตรี กีฬา ศิลปะ สภานักเรียน ชมรมบำเพ็ญประโยชน์ ลูกเสือ ฯลฯ รวมทั้งโรงเรียนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับเด็ก เช่น การเรียนว่ายน้ำ ฝึกวินัยจราจร การทำอาหาร การทำขนม การดูแลความสะอาดบ้านเรือน การซักรีดเสื้อผ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กต้องนำไปใช้ในชีวิตจริง ทั้งนี้หากชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่นก็สามารถเข้ามาช่วยสอนเด็กๆ ได้ 3. การสอนการบ้านหรือการสอนเสริมสำหรับเด็กเรียนอ่อน โดยเพื่อนหรือครูทำให้เมื่อเด็กกลับบ้านก็จะไม่ต้องทำการบ้านจนดึก และเป็นภาระแก่ครอบครัว เวลาเรียนหลังจาก 14 นาฬิกา โดยประมาณจะสิ้นสุดตามเวลาเลิกเรียนเดิมของแต่ละโรงเรียน นักเรียนก็จะเลิกเรียนและกลับบ้านตามปกติ ผู้ปกครองมารับนักเรียนได้ตามเวลาเดิม ไม่ได้ปล่อยให้เด็กออกนอกโรงเรียนหรือมีเวลาว่างจนเป็นอิสระ และไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย กิจกรรมเสริมในช่วงเวลาดังกล่าวนี้โรงเรียนจะต้องไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดๆเลยจากนักเรียน การเลิกเรียนเวลา 14 นาฬิกา จึงเป็นเพียงการเลิกเรียนเนื้อหาสาระในห้องเรียน ไปสู่การเรียนรู้นอกห้องเรียน ภายใต้การกำหนดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อลดความเครียดและมุ่งเน้นเฉพาะเนื้อหาสาระไปสู่การเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะที่พึงประสงค์ทุกด้านให้กับเด็กจึงเป็นการคืนความสุขให้แก่เด็กและผู้ปกครองโดยแท้จริง ศึกษานิเทศก์ในการการออกนิเทศติดตามครั้งนี้ ประกอบด้วย นายประทีปทะแพงพันธ์ นายชาตรี ราชบัณฑิต นางจิตราพร ราชบัณฑิต นายวิวัฒน์ ผาวันดี และนายศิริวัฒน์ ลำพุทธา ออกติดตามจำนวน 6 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านไร่ โรงเรียนร่วมมิตรวิทยา โรงเรียนบ้านวังยาง โรงเรียนอนุบาลสังคม โรงเรียนสมสะอาดดงมุขวิทยา และโรงเรียนเหล่าฝ้าย ผลการติดตาม พบว่า อาทิตย์แรกหลายโรงเรียนยังดำเนินการยังไม่เต็มที่ เพราะเป็นช่วงการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนพอดี จึงยังไม่พร้อมเท่าที่ควร ส่วนสัปดาห์ที่ 2 หลายโรงเรียนทำได้ดี มีผลงานของนักเรียน มีการทำ AAR เช่น โรงเรียนบ้านไร่ โรงเรียนสมสะอาดดงมุขวิทยา เป็นต้น ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65 ระดับเขตพื้นที่
![]() ศิลปะหัตกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่กระทรวงศึกษาธิการ รับเป็นเจ้าภาพจัดงานเพื่อสนองพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นผู้ทรงริมเริ่ม จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นต้นมา การจัดงานได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดงานมาตามยุคสมัย จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับภารกิจนี้มาดำเนินการ ภายใต้นโยบายหลักการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดหลักคุณธรรมนำความรู้ โดยจัดการแข่งขันเป็นสามระดับ คือ ระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค และระดับประเทศ และในครั้งนี้เป็นการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมิติให้ทบทวนรูปแบบ การแข่งขันให้เหลือเพียง ๒ ระดับ คือ ระดับเขตพื้นที่ และระดับภาคถือ เท่านั้น และมีการปรับปรุงกิจกรรมและหลักเกณฑ์การแข่งขัน โดยให้ผู้ชนะเลิศแต่ละกิจกรรมภาคละ ๑ คน/๑ ทีม รวมเป็นชนะเลิศแต่ละกิจกรรม ๔ คน/๔ ทีมถือเป็นที่สิ้นสุด และจัดกิจกรรมการแข่งขันให้คงไว้เฉพาะด้านวิชาการ เน้นด้านศิลปหัตถกรรมซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นหนทางสร้างอาชีพ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ “ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิงได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงชีพ เพื่อจะกันการที่เด็กทั้งหลายพากันนิยมการเป็นเสมียนหรือข้าราชการให้น้อยลง” สพป.หนองคาย เขต ๑ ตระหนักและเห็นความสำคัญ จำเป็นดังกล่าว จึงจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๕ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในด้านวิชาการด้านศิลปะ และด้านอาชีพ ๒. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษา ได้แสดงความสามารถที่เป็นเลิศด้านวิชาการ ด้านศิลปะ ด้านอาชีพ และสิ่งประดิษฐ์ ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๓. เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าประกวดแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๖๕ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป โดยใช้สถานที่จัดงาน ณ โรงเรียนอนุบาลหนองคาย โรงแรมอัศวรรณ สาขา 2 (MM) และโรงเรียนหนองคายวิทยาคาร ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ร่วมพิธีวางพวงมาลาวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2558
![]() เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต และ ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ จะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า พร้อมด้วยการจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในวันปิยมหาราชของทุกๆปี ![]() ![]() |
การประชุมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๕
![]() วันที่ 19 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม เพื่อเตรียมการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 65 ประจำปี 2558 ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ ภายใต้คำขวัญ ว่า “เลิศล้ำเลอค่าศาสตร์ศิลป์ แดนดินถิ่นอีสาน ผลงานสู่สากล” ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ /ตัวแทน จาก เขตพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง กำหนดจัดงานวันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2558 สถานที่จัดพิธีเปิด และปิด ห้องประชุมชั้น 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ พิธีเปิดวันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 16.00 น. พิธีปิด วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 16.00 น. สถานที่จัดนิทรรศการถนนคนเรียน จัดที่ สนามโรงเรียนหนองโตง”สุรวิทยาคม” อ.เมือง จ.สุรินทร์ (บริเวณเดียวกันกับ สพป.สร.1) สำหรับสถานที่แข่งขันทักษะทางวิชาการนั้น ได้กระจายไปตามอำเภอต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี อำเภอศีขรภูมิ อำเภอสังขะ อำเภอลำดวน และอำเภอสำโรงทาบ ผู้สนใจสามารถเข้าเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การแข่งขันระดับภาคที่ www.esan65.net ประกอบไปด้วยข้อมูลการแข่งขัน เกณฑ์การแข่งขัน ข้อมูลสถานที่พัก ข้อมูลคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ข้อมูลสถานที่แข่งขัน เว็บไซต์จัดการแข่งขันเข้าดูที่ www.esan65sillapa.net เว็บไซต์ สพป. http://esan65.sillapa.net/sp-center สพม. http://esan65.sillapa.net/sm-center การศึกษาพิเศษ http://esan65.sillapa.net/ss-center กิจกรรมที่ใช้ในการแข่งขัน ลดลงจากปี 2557 เหลือเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นศิลปะ และหัตถกรรมนักเรียน ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สุขศึกษาและพลศึกษา ไม่มีการแข่งขัน ในที่ประชุมได้ให้ทุกเขตพื้นที่จับฉลากลำดับที่การแข่งขันทักษะวิชาการ ซึ่งแต่ละเขตพื้นที่ทราบลำดับที่เรียบร้อยแล้ว ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
1-10 of 15